วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

เกณฑ์รับสมัคร หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 66 – 67

สำหรับปีการศึกษา 2566-2567 นี้ สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจจะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ควรจะได้ทราบไว้เบื้องต้น เพื่อให้สามารถเตรียมตัวไว้นะครับ การรับสมัครเพื่อศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รับสมัครเป็น 2 รอบ

  1. รอบ Portfolio รับจำนวน 20 คน
  2. รอบโควตารับจำนวน 48 คน

ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ครับ
1. รอบ Portfolio แบ่งการรับออกเป็น 2 กลุ่ม
     – กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน(Community Track) จำนวน 16 คน 
              – อุบลราชธานี  5 คน
              – อำนาจเจริญ  2 คน
              – ศรีสะเกษ  6 คน
              – ยโสธร  3 คน
      – กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำ (Inclusive Track) จำนวน 4 คน
              – อุบลราชธานี 1 คน
              – อำนาจเจริญ 1 คน
              – ศรีสะเกษ  1 คน
              – ยโสธร 1 คน
     โดยมีเกณฑ์ นักเรียนและบิดา / มารดาจะต้องมีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัด อุบลราชธานี
     ยโสธร ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญไม่น้อยกว่า 5 ปีและ
              – มีหน่วยกิตวิชากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 22 หน่วยกิต คณิตศาสตร์ไม่น้อย
                กว่า 10 หน่วยกิต
              – GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.50 GPAX กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ , คณิตศาสตร์, อังกฤษ
                ไม่ต่ำกว่า 3.50
              – คะแนน TGAT (ความถนัดทั่วไป)
              – คะแนนภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง(TOEFL, IELTS, CU-TEP)
              – ผ่านค่ายโอลิมปิกวิชาการมไม่น้อยกว่า 1 ค่าย(เคมี, ชีววิทยา, ฟิสิกส์,
                คณิตศาสตร์) ***

2. รอบโควตา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
     – กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน(Community Track) จำนวน 40 คน 
              – อุบลราชธานี  12 คน
              – อำนาจเจริญ  5 คน
              – ศรีสะเกษ  15 คน
              – ยโสธร  8 คน
      – กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำ (Inclusive Track) จำนวน 8 คน
              – อุบลราชธานี 3 คน
              – อำนาจเจริญ 1 คน
              – ศรีสะเกษ  3 คน
              – ยโสธร 1 คน

     โดยมีเกณฑ์ นักเรียนและบิดา / มารดาจะต้องมีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัด อุบลราชธานี
     ยโสธร ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญไม่น้อยกว่า 5 ปีและ

หากเรียงตามลำดับน้ำหนักของแต่ละวิชาก็จะเป็นดังนี้

  1. ชีววิทยา                        20%
  2. ภาษาอังกฤษ                15%
  3. คณิตศาสตร์ประยุกต์     15%
  4. ฟิสิกส์ เคมี ภาษาไทย สังคมศึกษา และความถนัดทั่วไป(TGAT) วิชาละ 10%

จะเห็นว่าหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ไม่ได้ใช้ TPAT1 (ความถนัดแพทย์) มาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินในการรับเข้าศึกษาแต่อย่างใด